Skip to Main Content
I'm looking for
hidden1hidden2
hidden1hidden2
hidden1hidden2

1. เตรียมการเปลี่ยนวัสดุทำแผลของคุณ

2. เปลี่ยนแผ่นปิดแผล

นำแผ่นปิดแผลอันเก่าออก

ทำความสะอาดแผล

ปิดวัสดุทำแผลชิ้นใหม่

hidden1hidden2
ฉันควรเปลี่ยนแผ่นปิดแผลบ่อยแค่ไหน?
  • ปล่อยแผ่นปิดแผลไว้บนผิวหนังคุณให้นานที่สุด หรือนานที่สุดเท่าที่พยาบาลแนะนำ โดยปกติจะมีการเปลี่ยนแผ่นปิดแผลประมาณ 1 ถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์

แต่จำเป็นต้องเปลี่ยนแผ่นปิดแผลของคุณทันทีในสถานการณ์เหล่านี้:

  • สารคัดหลั่งเริ่มรั่วออกจากขอบของแผ่นปิดแผล
  • หากแผ่นปิดแผลหลุดออก
hidden1hidden2

สิ่งที่ต้องระวัง?

อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าแผลของคุณอาจติดเชื้อ:

  • เจ็บปวดมากกว่าปกติ
  • ปริมาณของเหลวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
  • ผิวหนังรอบ ๆ แผลเริ่มบวมและกลายเป็นสีแดง และแสบร้อน
  • แผลของคุณมีกลิ่นแย่ลง
  • มีความร้อนมากเกินไปจาก/ในแผลของคุณ

อาการอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการหายของแผล ได้แก่ :

  • หากคุณเห็นว่ามีเนื้อเยื่อสีเหลืองหรือสีดำเกิดขึ้นใหม่มากขึ้น

คุณควรติดต่อพยาบาลของคุณทันที หากคุณเห็นสัญญาณของการติดเชื้อ

hidden1hidden2

อะไรสามารถช่วยให้แผลหายได้?

  • สิ่งสำคัญ คือ ต้องรักษาบาดแผลให้ชุ่มชื้นเพื่อรองรับต่อการรักษา
  • ห้ามสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสมดุล
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามความสามารถของคุณเอง
  • นอนหลับให้เต็มอิ่ม

แผลของคุณอาจใช้เวลาในการรักษานานขึ้นด้วยสาเหตุหลายประการ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยทั่วไปและสภาพบาดแผล

hidden1hidden2

แผ่นปิดแผลแบบพิเศษถูกออกแบบมาเพื่อทำอะไร?

  • ให้การป้องกันทางกายภาพสำหรับบาดแผลของคุณ
  • รักษาแผลให้ชุ่มชื้น และป้องกันไม่ให้แผ่นปิดแผลสร้างความเจ็บปวดและความเสียหายกับผิวเมื่อลอกออก
  • อยู่บนแผลของคุณนานขึ้นเพื่อช่วยเรื่องการหายของแผล *
  • ซับของเหลวออกจากบาดแผล และป้องกันไม่ให้ซึมเข้าสู่เสื้อผ้าของคุณ
  • รู้สึกสบายผิว

* ขึ้นอยู่กับสภาพของบาดแผลและผิวหนังโดยรอบหรือตามที่ระบุไว้ในการปฏิบัติการทางคลินิก

ดาวน์โหลดคู่มือการดูแลตนเอง

Mölnlycke Close

Healthcare Professional Confirmation

The information on the page you are about to enter is intended for healthcare professionals only. By clicking the box below you confirm that you are a healthcare professional.