เป็นผู้นำในการป้องกัน
แม้จะมีข้อปฏิบัติในเรื่องการป้องกันอยู่ แต่แผลกดทับก็ยังคงเป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุดในโรงพยาบาล

แผลกดทับที่เกิดในโรงพยาบาล
ความชุกของการเกิดแผลกดทับมีประมาณ 7.3% ถึง 23% ในโรงพยาบาลทั่วยุโรปและอเมริกาเหนือ
สาเหตุของการเกิดแผลกดทับ
แผลกดทับเกิดจากปัจจัยร่วมกันที่ซับซ้อน โดยมีแรงกดทับลงบนผิวหนังของผู้ป่วย และเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังเป็นปัจจัยหลัก ปัจจัยภายนอก เช่น แรงเฉือนและแรงเสียดทาน อุณหภูมิผิวและความชื้นที่เพิ่มขึ้น อาจมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
ภาระของแผลกดทับ
แผลกดทับทำให้ผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมาน ไม่สบายตัว และเจ็บปวดโดยไม่จำเป็น และนำไปสู่การนอนโรงพยาบาลนานขึ้น ซึ่งต้องการเวลาจากเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้นและใช้ทรัพยากรมากขึ้น
การป้องกันแผลกดทับ
ค่ารักษาแผลกดทับคิดเป็น 3.6 เท่าของค่าใช้จ่ายในการป้องกัน
ลักษณะสำคัญของการป้องกันแผลกดทับ
แนวทางปฏิบัติมาตรฐานเพื่อป้องกันแผลกดทับ ได้แก่:
- การประเมินความเสี่ยงเพื่อระบุผู้ป่วย 'ที่มีความเสี่ยง' (โดยปกติจะเกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยง (เช่น Braden Scale) ร่วมกับการประเมินสภาพผิว)
- การประเมินผิวหนังและเนื้อเยื่อ เพื่อค้นหาสัญญาณของความเสียหายจากแรงกดทับในระยะเริ่มต้น
- การดูแลผิวเชิงป้องกันเพื่อส่งเสริมความสมบูรณ์ของผิว และปกป้องผิวจากความเสียหาย (การทำให้ผิวสะอาดและแห้งจะช่วยในการควบคุมอุณหภูมิเฉพาะที่ได้)
- การใช้พื้นผิวรองรับเพื่อลดขนาดของแรงกดทับ
- ให้หัวเตียงสูงหรือต่ำกว่า 30 องศาเพื่อลดความเสี่ยงจากแรงเฉือน
- การใช้แผ่นปิดแผลเพื่อป้องกันในบริเวณที่ต้องเจอกับแรงเสียดทานและแรงเฉือนบ่อยๆ (เช่น กระดูกกระเบนเหน็บ ส้นเท้า)
- การพลิกตัวและเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยเพื่อลดระยะเวลาของการกดทับ
- การให้สารอาหาร และการให้น้ำเพื่อรักษาเนื้อเยื่อที่ต้องทนต่อแรงกด
วัสดุปิดแผลสำหรับป้องกันแผลกดทับ
วัสดุทำแผลสำหรับป้องกันแผลกดทับที่ใช้ในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง เป็นประเด็นสำคัญของเกณฑ์วิธีการป้องกัน ในปัจจุบันนี้ แนวทางเวชปฏิบัตินานาชาติ
ผลการศึกษาวิจัยหลายชิ้น Randomised Controlled Trials แสดงให้เห็นว่าวัสดุทำแผลประเภทนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันแผลกดทับบริเวณก้นและส้นเท้า
เซตช่วยในการพลิกตะแคงตัว และจัดท่า Turning and Positioning system
การจัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่าใหม่เป็นสิ่งสำคัญในเกณฑ์วิธีการป้องกันแผลกดทับ
- ระบบพลิกตัวและจัดท่าผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรในโรงพยาบาลสามารถขยับตัวผู้ป่วยได้ง่ายโดยใช้แรงน้อยลง ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงที่บุคลากรจะได้รับบาดเจ็บ
- แผ่นรองแบบฟลูอิไดซ์สำหรับจัดท่าผู้ป่วย (Fluidised Positioner) ซึ่งสามารถกดให้เป็นรูปทรงใดก็ได้ และจะช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่ต้องการจนถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนท่าใหม่
- รองเท้าบูทประคองข้อเท้า ที่ออกแบบขึ้นเป็นพิเศษสำหรับการจัดท่าบริเวณส้นเท้า ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง
ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว
ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวมีบทบาทสำคัญในการป้องกันแผลกดทับ เช่น:
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว เพื่อรักษาความสะอาดของผิว
- ผลิตภัณฑ์ Barrier® เพื่อปกป้องผิวไม่ให้สัมผัสกับความชื้นที่มากเกินไป และสารก่อการระคายในปัสสาวะและอุจจาระ
- ผลิตภัณฑ์มอยเจอร์ไรเซอร์ เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังที่แห้ง
ผลิตภัณฑ์ของ Mölnlycke ที่เกี่ยวข้อง
'References'